|
รูปแสดงภาพตัดขวางแสดงชั้นเกลือหิน จาก อ.พล จ.ขอนแก่น ถึง จ.หนองคาย (จาก นเรศ สัตยารักษ์, 2533) |
|
พื้นที่ดินเค็ม บริเวณอำเภอจตุรัส จังหวัดนครราชสีมา ปรากฎคราบเกลือสีขาวพบผิวดิน ไม่สามารถทำการเกษตรได้ |
พื้นที่ห้วยคอกช้าง บ.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม เป็นพื้นที่ดินเค็ม ซึ่งแม้จะไม่มีคราบเกลือให้เห็น แต่ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ |
พื้นที่หนองบ่อ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม แสดงความแตกต่างของระดับพื้นที่พื้นที่ใกล้ระดับน้ำใต้ดินจะมีคราบเกลือบนผิวดิน ปลูกพืชไม่ได้พื้นที่เนินที่อยู่ด้านหลัง อยู่สูงกว่า มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น |
|
ลำดับชั้นหินของหมวดหินมหาสารคามดัดแปลงจาก ผลการเจาะสำรวจ บริเวณ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ |
|
|
|
|
โดยเกลือหินชั้นล่างสุดจะมีความหนามากที่สุด และจากการที่ชั้นเกลือมีความหนาแน่นต่ำ (1.8-2.1 ตัน/ลูกบาศก์เมตร) ในขณะที่ชั้นหินที่ปิดทับมีความหนาแน่นสูงกว่า (2.5-2.7 ตัน/ลูกบาศก์เมตร) จึงเกิดความแตกต่างของความหนาแน่นระหว่างมวลทั้งสองขึ้น ดังนั้น มวลเกลือจึงสามารถดันตัวเองให้ ลอย ขึ้นมา เกิดเป็น เนินเกลือ (salt pillow) โดมเกลือ (dome) หรือ แท่งเกลือ (salt diapir) ขนาดต่างๆ ได้ และจากการเจาะสำรวจพบว่า แท่งเกลือบางแห่งทางตอนกลางแอ่งโคราช มีความสูงถึง 1 กิโลเมตร จากระดับชั้นเกลือเดิม (ดังรูปลำดับชั้นหินของหมวดหินมหาสารคามดัดแปลงจาก ผลการเจาะสำรวจ บริเวณ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์)
กรมทรัพยากรธรณีเรียกหน่วยหินที่มีชั้นเกลือหินแทรกสลับว่า หมวดหินมหาสารคาม (Maha Sarakham Formation) ซึ่งลำดับชั้นดั้งเดิมประกอบด้วย ชั้นเกลือหิน (rock salt) 3 ชั้นแทรกสลับกับหินตะกอนสีน้ำตาลแดง มีความหนารวมกันประมาณ 300-400 เมตร
|