|
พิพิธภัณฑ์แร่-หิน (กรุงเทพมหานคร)
|
พิพิธภัณฑ์แร่-หิน กรุงเทพมหานคร |
|
พิพิธภัณฑ์แร่ - หินแห่งนี้ถือเป็นแห่งแรกของไทยที่ก่อตั้งมาร่วม 100 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 รวบรวมตัวอย่างแร่และหินจำนวนมากที่สั่งซื้อจากต่างประเทศมาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสศึกษาแร่และหินชนิดต่าง ๆ ในอดีต ขึ้นอยู่กับกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา จนถึงปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมทรัพยากรธรณี มีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยมาโดยตลอด
|
ชุดนิทรรศการแบ่งออกเป็น 8 โซน
โซนที่ 1 ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์
เพื่อเรียนรู้ความเก่าแก่ของพิพิธภัณฑ์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดของไทย พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาจัดตั้งขึ้นด้วยจุดประสงค์เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม และเผยแพร่ความรู้ทางด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี และเพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้ประชาชนเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรณี อันจะนำมาสู่การช่วยกันอนุรักษ์ต่อไป โดยมุ่งหมายให้เป็นพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาที่สมบูรณ์ น่าศึกษาเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่น่าสนใจที่ผู้ชมสามารถทดลองสัมผัสและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
| |
โซนที่ 2 ธรณีประวัติ
นำเสนอตั้งแต่การกำเนิดโลกไขปริศนากำเนิดจักรวาล เข้าใจสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีสาเหตุจากส่วนเปลือกโลกแตกตัวออกเป็นแผ่นๆ และเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา และมีโมเดลจำลองให้ลองเล่นกันด้วย
| |
โซนที่ 3 ทรัพยากรแร่
ชมความงามและสีสันอันน่าอัศจรรย์ของแร่ เรียนรู้เรื่องราวของแร่ ที่มา กระบวนการกำเนิดแร่แบบต่างๆ การแบ่งกลุ่มแร่ตามส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพของแร่ ประกอบด้วยตัวอย่างแร่ของจริงจำนวนมาก โดยเริ่มตั้งแต่ทางเข้าที่ทำเป็นอุโมงค์เหมืองแร่จำลอง เดินเข้าไปก็จะได้ยินเสียงรถขนแร่ และได้เห็นการใช้ประโยชน์แร่อย่างครบถ้วน
| |
โซนที่ 4 หินและน้ำบาดาล
เจาะลึกเรื่องของหิน กำเนิดหิน และวัฏจักรหิน เจาะลึกต่อเรื่องของน้ำบาดาล แหล่งน้ำใต้ดินที่สะสมตัวอยู่ในช่องว่างของชั้นดินและหิน
| |
โซนที่ 5 เชื้อเพลิงธรรมชาติ
เป็นการให้ ความรู้อย่างง่าย ๆ ว่าถ่านหินคืออะไร หินน้ำมันคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร จนถึงปิโตรเลียม ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงจากซากฟอสซิล ที่เราใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน | |
โซนที่ 6 วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจ ว่าตารางอายุทางธรณีวิทยานั้นหมายถึงอะไร สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมานานขนาดไหน โดยดูจากการทับถมตัวของชั้นหิน เพื่อหาร่องรอยของซากดึกดำบรรพ์ จนถึงยุคไดโนเสาร์ที่ถูกค้นพบในประเทศไทยว่ามีพันธุ์ไหนบ้าง รวมถึงซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบได้ในประเทศไทย
| |
โซนที่ 7 ธรณีวิทยาประเทศไทยและธรณีพิบัติภัย
นำเสนอให้เห็นถึงวิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ ในการสำารวจ ขุดค้น ซากดึกดำบรรพ์และศึกษาทางธรณีวิทยา รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว ทางธรณีวิทยาทั่วประเทศไทย | |
โซนที่ 8 ธรณีวิทยาประยุกต์
นำเสนอถึงธรณีพิบัติภัยแบบต่าง ๆ ได้แก่ แผ่นดินยุบ ดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว สึนามิ เพื่อให้รู้เท่าทันภัยพิบัติในปัจจุบัน และยังมี เครื่องจำลองสถานการณ์เล็ก ๆ ให้ได้เล่นกันด้วย | |
|
การติดต่อ
|
|
สถานที่ตั้ง
|
พิพิธภัณฑ์แร่-หิน กรุงเทพมหานคร อาคารมรกต ชั้น 1 กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 |
โทรศัพท์
|
0 2621 9644, 0 2621 9647 |
โทรสาร
|
0 2621 9651 |
พิกัด
|
13.764354 N, 100.526483 E |
เว็บไซต์
|
|
ค่าบริการ
|
ไม่เก็บค่าเข้าชม |
เวลาทำการ
|
วันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 9.30 น.-16.30 น. หยุดทุกวันจันทร์
|
|
แผนที่เส้นทาง |
|
การเดินทาง : |
รถโดยสารประจำทางสาย 8,44,67,92,97,ปอ.44,ปอ.157,ปอ.509,ปอ.538 |
|
สถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุด สถานีรถไฟฟ้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และพญาไท |
|
|
|
|
|