รายงานสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี
วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐ น.
๑. ธรณีพิบัติภัย
๑.๑ ดินไหล หินถล่ม รอยแยก หลุมยุบ
- ไม่มี
๑.๒ แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวในรอบ ๒๔ ชั่วโมงผ่านมา (วันที่ ๑๔ มี.ค. ๕๕ เวลา ๐๘.๐๐ น. ๑๕ มี.ค. ๕๕ เวลา ๐๘.๐๐ น.)
ช่วงขนาดแผ่นดินไหว (ริกเตอร์) |
จำนวน (ครั้ง) |
๓.๑ ๔.๐ (เล็ก) |
๕ |
๔.๑ - ๕.๐ (ค่อนข้างเล็ก) |
๑๓ |
๕.๑ - ๖.๐ (ปานกลาง) |
๔ |
๖.๑ ขึ้นไป (ค่อนข้างใหญ่) |
๓ |
- แผ่นดินไหวล่าสุด มีขนาด ๔.๖ ริกเตอร์ ในทะเล ที่ระดับความลึก ๒๗.๘ กิโลเมตรจากผิวโลก เมื่อวันที่
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๖.๐๑ น. ตามเวลาประเทศไทย บริเวณ OFF THE EAST COAST OF HONSHU, JAPAN ไม่มีรายงานความเสียหาย (ที่มา : USGS)
- วานนี้ (๑๔ มี.ค. ๕๕) เวลา ๑๖.๐๘ น. เกิดแผ่นดินไหว ขนาด ๖.๙ ริกเตอร์ ในทะเล บริเวณนอกชายฝั่งเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น และพบว่ามีคลื่นสึนามิ ความสูง ๒๐ เซนติเมตร ซัดเข้าชายฝั่งจังหวัดฮอกไกโด และจังหวัดอาโอโมริ โดยที่ประชาชนบริเวณริมฝั่งทะเลได้รับคำเตือนและอพยพไปสู่ที่ปลอดภัยก่อนหน้าแล้ว (ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์)
๒. สภาพอากาศ
- บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าว มีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะนี้
- ปริมาณน้ำฝนสูงสุด วัดได้ที่ อ.เมือง จ.ตราด ๗๕.๓ มม. (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา)
๓. เครือข่ายกรมทรัพยากรธรณี เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
- บ.บ้องตี้บน ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๗๕ มม. (นายนพณัช มงคล)
- บ.ทับปริก ต.ทับปริก อ.เมือง จ.กระบี่ วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๗๐.๕ มม. (นายสมหมาย อินทรพรหม)
- บ.วังตม ต.จางเหนือ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๓๕ มม. (นายตา โคตรภูเขียว)
- บ.สันขี้เหล็ก ต.แม่พริก อ.แม่พริก จ.ลำปาง วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๓๐ มม. (นายแดง กาวิลตา)
- บ.หว่างคลองไทย ต.กระบี่น้อย อ.เมือง จ.กระบี่ วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๓๐ มม. (นายชาญ ชุมบุตร)
- บ.หาดงิ้ว ต.วังกระแจ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๓๐ มม. (นายสุเทพ กลีบเมฆ)
- บ.ชีน้อย ต.ถ้ำ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๒๕ มม. (นายสุวิทย์ มาลี)
- บ.ปางอ้า ต.เวียงมอก อ.เถิน จ.ลำปาง วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๒๐ มม. (นายหลาน จันทะ)
- บ.ปางหละ ต.บ้านหวด อ.งาว จ.ลำปาง วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๑๕ มม. (นายวัลลพ นาหลวง)
- บ.บางเนียง ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๑๕ มม. (นายสมบูรณ์ แซ่อึ่ง)
- บ.นาสวน ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๑๐ มม. (นายอาคม มหาศรีกาญจน์)
- บ.ผักฉีด ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๑๐ มม. (นายประพันธ์ ถิ่นเกาะยาว)
- บ.พรุจำปา ต.เทพกษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต วัดปริมาณน้ำฝนได้ ๑๐ มม. (นางวันเพ็ญ แซ่เตี้ยว)
๔. พื้นที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์พิบัติภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากของกรมทรัพยากรธรณี
- เนื่องจากในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม มีปริมาณน้ำฝนไม่ถึงเกณฑ์การเฝ้าระวัง ประกอบกับบางพื้นที่ไม่มีฝนตก จึงไม่มีพื้นที่ติดตามสถานการณ์พิบัติภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก
ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม
กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โทร ๐ ๒๖๒๑ ๙๗๐๓-๕ โทรสาร ๐ ๒๖๒๑ ๙๗๐๐ |