กรมทรัพยากรธรณี

น้ำพุร้อน

น้ำพุร้อนในประเทศไทย
น้ำพุร้อน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีน้ำร้อนไหลขึ้นมาจากใต้ดิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภายในโลกยังคงมีความร้อนอยู่ ปัจจุบัน พบแหล่งน้ำพุร้อน 112 แหล่ง กระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคใต้ วัดอุณหภูมิน้ำร้อนที่ผิวดินอยู่ในช่วง 40 100 องศาเซลเซียส โดยทั่วไป เรารู้จักน้ำพุร้อนเนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่ามหัศจรรย์ แต่น้ำพุร้อนยังสามารถนำมาพัฒนาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า ด้านอุตสาหกรรม และการเกษตรกรรมอีกด้วย
ที่ รหัส แหล่งน้ำพุร้อน บ้าน อำเภอ จังหวัด อุณหภูมิ pH F (ppm)
1 CR1 โป่งนาคำ โป่งนาคำ เมือง เชียงราย 65 8.6 nd
2 CR2 ยางผาเคียว โป่งยางผาเคียว เมือง เชียงราย 85 8.3 17.4
3 CR3 โป่งน้ำร้อน ผาเสริฐ เมือง เชียงราย 80 8.3 16.5
4 CR4 แม่จัน ห้วยยาโน แม่จัน เชียงราย 93 8.7 20.4
5 CR5 โป่งปู่เฟือง โป่งปู่เฟือง แม่สรวย เชียงราย 72 8.5 13
6 CR6 สบโป่ง สบโป่ง เวียงป่าเป้า เชียงราย 92 8.9 11
7 CR7 ห้วยทรายขาว ห้วยทรายขาว พาน เชียงราย 60 8.4 0.3
8 CR8 โปร่งพระบาท โปร่งพระบาท เมือง เชียงราย 60 8.8 19.6
9 CR9 นาโป่ง แม่สลองนอก แม่จัน เชียงราย 45 8.8 7.5
10 CM1 สันกำแพง โป่งฮ่อม กแม่ออน เชียงใหม่ 99 8.6 nd
11 CM2 ดอยสะเก็ด โป่งกุ่ม ดอยสะเก็ด เชียงใหม่ 78 8.6 9.5
12 CM3 ฝาง โป่งน้ำร้อน ฝาง เชียงใหม่ 99 9 nd
13 CM4 ป่าแป๋ แม่แสะ แม่แตง เชียงใหม่ 99 9.5 11.5
14 CM5 เทพนม อมกุด แม่แจ่ม เชียงใหม่ 99 9 10
15 CM6 โป่งเหม็น โป่งเหม็น แม่แจ่ม เชียงใหม่ 70 8.5 11
16 CM7 ปิงโค้ง ปิงโค้ง เชียงดาว เชียงใหม่ 70 7.2 1.7
17 CM8 บ้านโป่งอ่าง โป่งอ่าง เชียงดาว เชียงใหม่ 60
18 CM9 บ้านโป่งโรงวัว โป่งโรงวัว เชียงดาว เชียงใหม่ 60
19 CM10 บ้านยางทุ่งโป่ง ยางทุ่งโป่ง เชียงดาว เชียงใหม่ 60
20 CM11 บ้านโป่ง โป่ง พร้าว เชียงใหม่ 72 7.61 6.1
21 CM12 หนองครก หนองครก พร้าว เชียงใหม่ 72 7.15 5
22 CM13 บ้านห้วยงู ห้วยงู พร้าว เชียงใหม่ 45 6.35 1.3
23 CM14 โป่งเย็น ห้วยมะหิน พร้าว เชียงใหม่ 40 6.9 4.9
24 CM15 บ้านประดู่ ประดู่ พร้าว เชียงใหม่ 58 6.7 4.7
25 CM16 มะลิกา เมืองงาม แม่อาย เชียงใหม่ 70 8.6 13
26 MH1 ผาบ่อง ผาบ่อง เมือง แม่ฮ่องสอน 63
27 MH2 โป่งสัก ตาลเจ็ดต้น ปาย แม่ฮ่องสอน 85 8.5 nd
28 MH3 โป่งไหม้ โป่งไหม้ ปาย แม่ฮ่องสอน 78 8.7 nd
29 MH4 โป่งปะ ตาลเจ็ดต้น ปาย แม่ฮ่องสอน 88 8.5 nd
30 MH5 เหมืองแร่ เหมืองแร่ ปาย แม่ฮ่องสอน 75 8.5 6
31 MH6 แม่นะ แม่นะ ปาย แม่ฮ่องสอน 40 7.8 0.97
32 MH7 เมืองแปง เมืองแปง ปาย แม่ฮ่องสอน 95 8.4 nd
33 MH8 แม่ฮี้ แม่ฮี้ ปาย แม่ฮ่องสอน 38 8.21 6
34 MH9 แม่ฮุ ห้วยหมากไฟ แม่ลาน้อย แม่ฮ่องสอน 78 8 6.6
35 MH10 แม่อุมลองหลวง สบแม่อมลอง แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน 76
36 MH11 หนองแห้ง หนองแห้ง ขุนยวม แม่ฮ่องสอน 85 8.3 10
37 MH12 โป่งจ๊ะจา ปาย แม่ฮ่องสอน 43.2 8.11 6.3
38 LN1 เหมืองเทพนิธิ ทากาศ แม่ทา ลำพูน 42
39 LN2 หนองหล่ม หนองหล่ม เมือง ลำพูน 42 7.7 3.6
40 LP1 แจ้ซ้อน  แจ้ซ้อน กิ่งเมืองปาน ลำปาง 78 7.3 3.7
41 LP2 เวียงเหนือ เวียงเหนือ ห้างฉัตร ลำปาง 55 nd nd
42 LP3 บ้านโป่งน้ำร้อน โป่งน้ำร้อน เกาะคา ลำปาง 60 8.8 nd
43 LP4 โป่งน้ำร้อน โป่งน้ำร้อน เสริมงาม ลำปาง 76.5 7.4 7.2
44 LP5 โป่งเหม็น แม่ตาลน้อย ห้างฉัตร ลำปาง 38 7
45 LP6 ห้วยน้ำร้อน ดอกคำใต้ งาว ลำปาง 51 8
46 LP7 โป่งน้ำร้อน ห้วยเรียน ห้างฉัตร ลำปาง 48 7
47 PR1 ปันเจน ปันเจน วังชิ้น แพร่ 53 6.78 4.1
48 PR2 แม่จอก แม่จอก วังชิ้น แพร่ 82 7.28 7.17
49 PR3 โป่งน้ำร้อน แม่ลู่ หมู่11 ลอง แพร่ 50
50 PR4 วัดสะแล่ง วัดสะแล่ง ลอง แพร่ 59 8
51 NN1 ห้วยน้ำอุ่น ห้วยน้ำอุ่น เวียงสา น่าน 34 7
52 SK1 โป่งลำปาง โป่งลำปาง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย 52 8
53 SK2 บ่อน้ำร้อน สุเม่น หมู่ที่ 1 ศรีสัชนาลัย สุโขทัย 50 8
54 TK1 บ้านแม่กาษา แม่กาษา แม่สอด ตาก 75
55 TK2 ห้วยโป่งร้อน หม่องวา แม่ระมาด ตาก 40
56 TK3 ห้วยน้ำนัก ห้วยนำนัก พบพระ ตาก 58 7.6
57 TK4 ห้วยแม่แล เขาโมโกจู อุ้มผาง ตาก 0
58 TK5 ห้วยแม่กลอง ห้วยแม่กลอง อุ้มผาง ตาก 0
59 KP1 พระร่วง ลานหิน เมือง กำแพงเพชร 54 8.13 8.3
60 KP2 โป่งน้ำร้อน สำนักสงฆ์โป่งน้ำร้อน คลองลาน กำแพงเพชร 38
61
KP3 อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ คลองลาน กำแพงเพชร
38
-
-
62 PB1 บ้านน้ำร้อน น้ำร้อน เมือง เพชรบูรณ์ 42 8.19 1.8
63 PB2 บ้านวังขาม วังขาม ศรีเทพ เพชรบูรณ์ 52 9.35 1.4
64 PB3 บ้านพุขาม พุขาม วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์ 46 9.37 1.6
65 PB4 บ้านพุเตย พุเตย วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์ 32 7.31 0.3
66 UT1 บ้านสมอทอง หมู่ที่ 2 ห้วยคต อุทัยธานี 67 7.5 17
67 LB1 เขาสมโภชน์ เขาสมโภชน์ ชัยบาดาล ลพบุรี 34 6.78 0.3
68 SP1 บ้านพุน้ำร้อน พุน้ำร้อน หมู่ 5 ด่านช้าง สุพรรณบุรี 38
69 KC1 ท้องช้าง ท้องช้าง ไทรโยค กาญจนบุรี -
70 KC2 หินดาด กุยมั่ง ทองผาภูมิ กาญจนบุรี 40 7.36 1.6
71 KC3 บ้านน้ำพุร้อน กุยเหย่ ทองผาภูมิ กาญจนบุรี 40
72 KC4 บ้านเขาพัง เขาพัง ไทรโยค กาญจนบุรี 40 7.55 0.6
73 KC5 บ้านต้นลำใย ต้นลำใย หนองปรือ กาญจนบุรี 42 8.5 2
74 KC6 บ้านพุน้ำร้อน พุน้ำร้อน หมู่ 12 เมือง กาญจนบุรี 0
75 RB1 บ้านบ่อคลึง 22 หมู่ 7 บ่อคลึง สวนผื้ง ราชบุรี 56 8.02 6.2
76 RB2 บ้านพุน้ำร้อน พุน้ำร้อน สวนผึ้ง ราชบุรี 50 8.3 20
77 PT1 หนองหญ้าปล้อง ใหม่พุน้ำร้อน หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี 47
78 CH1 บางพระ ศรีราชา ชลบุรี 0
79 CN1 โป่งน้ำร้อน โป่งน้ำร้อน โป่งน้ำร้อน จันทบุรี 39
80 CP1 ละแม ดวด ละแม ชุมพร 50
81 RN1 วัดตโปทาราม วัดตโปทาราม เมือง ระนอง 65 8.3 7
82 RN2 บ้านทุ่งยอ ทุ่งยอ เมือง ระนอง 40 8.3 5.4
83 RN3 บ้านพรรั้ง พรรั้ง เมือง ระนอง 45 8.4 5.4
84 RN4 คลองบางริ้น ทุ่งยอ เมือง ระนอง 50
85 RN5 ราชกรูด กองพันทหารราบที่ 2 เมือง ระนอง 46
86 RN6 ห้วยน้ำร้อน หน่วยพิทักษ์ป่าวังน้ำเย็น กะเปอร์ ระนอง 75
87 SR1 บ้านน้ำพุร้อน น้ำพุร้อน หมู่ที่ 2 ไชยา สุราษฎร์ธานี 45 7.74
88 SR2 เขานางฮี เขาน้ำร้อนใน ไชยา สุราษฎร์ธานี 40 7.84
89 SR3 วัดธารน้ำร้อน วัดธารน้ำร้อน หมู่1 ท่าฉาง สุราษฎร์ธานี 51 7.86
90 SR4 บ้านบ่อน้ำร้อน บ่อน้ำร้อน หมู่ที่ 5 กาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี 41 8.32
91 SR5 บ้านวังหิน วังหิน หมู่ที่ 5 นาสาร สุราษฎร์ธานี 42 8.41
92 SR6 บ้านเขาน้อย เขาน้อย หมู่ที่ 5 คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี 53 8.1
93 SR7 รัตนโกสัย ท่าสะท้อน หมู่ 6 พุนพิน สุราษฎร์ธานี 70 7.9
94 SR8 บ้านเขาพลู เขาพลู หมู่ 5 บ้านนาเดิม สุราษฎร์ธานี 56
95 SR9 บ้านเขาตอก เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง เคียนซา สุราษฎร์ธานี 62
96 NS1 อุทยานบ่อน้ำร้อน น้ำร้อน หมู่ 3 บางขัน นครศรีธรรมราช 55
97 PG1 คลองปลายพู่ บางจับ กะปง พังงา 60 7.8 0.03
98 PG2 รมณีย์ รมณีย์ กะปง พังงา 63
99 PG3 บ้านบ่อดาน บ่อดาน ท้ายเหมือง พังงา 45
100 KB1 บ้านห้วยยูงตก ห้วยยูงตก หมู่ 1 เหนือคลอง กระบี่ 45 7.2 0.01
101 KB2 คลองบ่อน้ำร้อน ตลาดเหนือคลอง เหนือคลอง กระบี่ 47
102 KB3 บางผึ้ง บางผึ้ง คลองท่อม กระบี่ 45 7.2 <0.01
103 KB4 บ้านน้ำร้อน น้ำร้อน หมู่ที่7 คลองท่อม กระบี่ 47 7.2 <0.01
104 KB5 น้ำตกร้อนสะพานยูง บางคราม หมู่ 4 คลองท่อม กระบี่ 47 7 <0.01
105 TR1 อุทยานบ่อน้ำร้อน หาดเจ้าไหม กันตัง ตรัง 52 7.1 <0.01
106 TR2 บ้านควนสระ ควนสระ ปะเหลียน ตรัง 41 6.7 <0.01
107 PL1 เขาชัยสน เขาชัยสน เขาชัยสน พัทลุง 57 7.7 0.01
108 PL2 บ้านโล๊ะจังกระ โล๊ะจังกระ กงหรา พัทลุง 46 8 0.02
109 PL3 บ้านนาทุ่งโพธิ์ นาทุ่งโพธิ์ กงหรา พัทลุง 50 8 0.02
110 PL4 บ้านระหว่างควน ระหว่างควน ควนขนุน พัทลุง 41
111 ST1 บ้านโตนปาหนัน โตนปาหนัน ควนกาหลง สตูล 50 7.7 0.03
112 YL1 ตาเนาะแมเราะ บ่อน้ำร้อน เบตง ยะลา 80 7.8 0.02
แผนที่แหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย

แผนที่แหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย

แผนที่ธรณีวิทยาแหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย

แผนที่ธรณีวิทยาแหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย

ต้นกำเนิดความร้อน
  • น้ำพุร้อนที่พบบริเวณหินอัคนี น้ำใต้ดินได้รับการถ่ายเทความร้อนจากหินอัคนีที่ร้อนในระดับลึก และไหลย้อนกลับสู่ผิวดิน
  • น้ำพุร้อนที่เกิดอยู่ใกล้ หรือเกิดอยู่ในหินแกรนิตจะได้รับความร้อนจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี ซึ่งพบมีค่าค่อนข้างสูงอยู่ในหิน
  • น้ำพุร้อนที่เกิดอยู่บริเวณรอยเลื่อนมีพลังได้รับการถ่ายเทความร้อนจากแรงเฉือน และรอยเลื่อนดังกล่าวเป็นช่องทางนำน้ำเย็นไหลลงสู่ระดับลึกแล้วไหลขึ้นสู่ผิวดินเป็นน้ำพุร้อน
  • รอยเลื่อนปกติในทิศทางเหนือ-ใต้ ที่เกิดอยู่ทั่วไปในช่วงเวลาไม่เกิน 1.8 ล้านปี (หลังยุคเทอร์เชียรี) เป็นตัวให้ความร้อนเพิ่มขึ้น
  • บริเวณประเทศไทยมีค่าการไหลถ่ายความร้อนสูง (high heat flow) ซึ่งเป็นผลมาจากชั้นเปลือกโลกและชั้นแมนเทิล (mantle) บางหรืออยู่ตื้นกว่าปกติ
แบบจำลองการเกิดน้ำพุร้อนแบบที่ 1

เกิดในหินแกรนิต โดยน้ำฝนและน้ำผิวดินไหลลงสู่ใต้ดินตามรอยเลื่อน รอยแตกของหิน จนถึงความลึกระดับหนึ่ง ได้รับการถ่ายเทความร้อนแล้วไหลกลับสู่ผิวดินตามรอยเลื่อนรอยแตกของหิน เกิดเป็นน้ำพุร้อนที่มีอุณหภูมิใกล้เดือด

รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

แบบจำลองการเกิดน้ำพุร้อนแบบที่ 2

เกิดในหินชนิดอื่นที่ปิดทับหินแกรนิต โดยน้ำฝนและน้ำผิวดินไหลลงสู่ใต้ดินตามรอยเลื่อน รอยแตก และรูพรุนของหิน จนถึงความลึกระดับหนึ่ง ได้รับการถ่ายเทความร้อนแล้วไหลกลับสู่ผิวดินตามรอยเลื่อนรอยแตกของหิน เกิดเป็นน้ำพุร้อน หรือบ่อน้ำอุ่น

รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

ลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของน้ำพุร้อนในประเทศไทย
  • ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ระหว่าง 6.4-9.5
  • ปริมาณสารละลายในน้ำต่ำ (low total dissolve solid) ระหว่าง 200-650 ppm ยกเว้นน้ำพุร้อนที่เป็นน้ำเค็มให้ค่าปริมาณสารละลายสูงมาก
  • น้ำพุร้อนส่วนใหญ่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกมีค่าฟลูออไรด์สูงมากกว่า 5 ส่วนในล้าน (ppm) และได้กลิ่นกำมะถันค่อนข้างแรง
  • น้ำพุร้อน 6 แหล่งในภาคใต้เป็นน้ำเค็ม และให้เอนทัลปีต่ำถึงปานกลาง (enthalpy)
การใช้ประโยชน์น้ำพุร้อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าสาธิต 300 กิโลวัตต์ น้ำพุร้อนฝาง จ.เชียงใหม่

โรงไฟฟ้าสาธิต 300 กิโลวัตต์ น้ำพุร้อนฝาง จ.เชียงใหม่

  แหล่งน้ำพุร้อน อำเภอฝาง เป็นโครงการเอนกประสงค์พลังงานความร้อนใต้พิภพแห่งเดียวในประเทศไทย ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้พัฒนาผลิตกระแสไฟฟ้าและใช้ประโยชน์โดยตรง   แหล่งน้ำพุร้อน อำเภอฝาง อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ 140 กิโลเมตร มีบ่อน้ำร้อนมากกว่า 100 บ่อ โผล่ให้เห็นอยู่ในหินแกรนิตยุคคาร์บอนิเฟอรัส อุณหภูมิของน้ำพุร้อนสูงกว่า 90 °ซ และอัตราการไหลขึ้นมาเองตามธรรมชาติของน้ำพุร้อน วัดได้ 22.4 ลิตร/วินาที การศึกษาขั้นต้นบ่งชี้ว่า อัตราการไหลของน้ำร้อนจากบ่อเจาะสำรวจตื้นประมาณ 100 เมตร มีความเหมาะสมต่อการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยระบบ 2 วงจร (binary cycle) ขนาดกำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2532 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ติดตั้งโรงไฟฟ้าสาธิตที่ใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และเป็นแห่งแรกในเอเชียอาคเนย์ด้วยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ปีละประมาณ 1,200,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง  จะถูกส่งต่อเข้ากับระบบสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อจ่ายให้ผู้ใช้ไฟฟ้าต่อไป  

แผนผังแสดงการทำงานของโครงการอเนกประสงค์พลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า พัฒนาเป็นห้องเย็น ห้องอบแห้ง และใช้เพื่อการท่องเที่ยว

รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี
การใช้ประโยชน์น้ำพุร้อนด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

ห้องทดลองอบใบยาสูบ น้ำพุร้อนสันกำแพง จ. เชียงใหม่

รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

ห้องอบแห้งและห้องเย็น น้ำพุร้อนฝาง จ. เชียงใหม่

 

ห้องอบแห้ง  ผลพลอยได้จากน้ำร้อนที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำพุร้อนฝาง จ. เชียงใหม่ (ณ. อุณหภูมิ 77 °ซ) จะไหลเวียนเป่าเข้าไปในห้องอบแห้ง ซึ่งทำเป็นชั้นๆ สำหรับวางผลิตผลการเกษตร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คิดอัตราค่าอบพริกให้แห้งซึ่งใช้เวลา 3 วัน เป็นเงิน 1.20 บาท/กิโลกรัม พริกที่นำเข้าอบแห้งจะให้สีแดงเท่ากันตลอดทั้งเม็ด และน้ำหนักของพริกแห้งจะเหลือเพียง 30% ของน้ำหนักพริกสด

ห้องทำความเย็น น้ำร้อนที่เหลือปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้านำมาพัฒนาเป็นห้องเย็น โดยใช้ระบบการดูดซับความเย็น  ซึ่งจะรักษาอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 4 °ซ ผลิตผลทางการเกษตรที่นำมาเก็บในห้องเย็นได้แก่ มะนาว หัวหอม และลิ้นจี่ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเน่าเสียของผลิตผลลดลง โดยที่ มะนาวจะเน่าเสียเพียง 8.2 % และลิ้นจี่เน่าเสีย 10 % ภายในระยะเวลาทดลองเก็บรักษาไว้ในห้องเย็นเป็นเวลาหนึ่งเดือน

น้ำอุ่นบางส่วนที่เหลือจากกระบวนการดังกล่าวข้างต้น ซึ่งยังเป็นน้ำที่สะอาดอยู่จะถูกส่งผ่านลำธารน้ำตามธรรมชาติ ไปใช้ในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร

การใช้ประโยชน์น้ำพุร้อนด้านนันทนาการและการท่องเที่ยว
ประโยชน์ของน้ำพุร้อนด้านนันทนาการและการท่องเที่ยวได้แก่ การพัฒนาให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของนักท่องเที่ยว เป็นที่สำหรับสำหรับการอาบน้ำเพื่อสุขภาพ การทำ     ห้องอบเซาน่าและอบไอน้ำ และการทำสระว่ายน้ำร้อน เป็นต้น รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

ลานน้ำพุร้อนฝาง จ.เชียงใหม่

รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

ห้องอบเซาน่า น้ำพุร้อนฝาง จ.เชียงใหม่

รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

สระว่ายน้ำ  น้ำพุร้อนสันกำแพง จ.เชียงใหม่

รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

บ่อต้มไข่ น้ำพุร้อนสันกำแพง จ.เชียงใหม่

การอาบน้ำและการนวดเพื่อสุขภาพกำลังเป็นที่ยอมรับด้านกายภาพบำบัด และได้รับความนิยมไปทั่วโลก มนุษย์หลายเชื้อชาติในโลกมีความเชื่อมามากกว่า 10,000 ปี แล้วว่าการอาบน้ำแร่ร้อนจากน้ำพุร้อนจะทำให้สุขภาพดีขึ้น และการอาบน้ำพุร้อนยังสามารถรักษา บรรเทาอาการบางอย่างที่เป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ ได้ ดังที่เป็นข่าวล่าสุดในหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544 ที่ชาวบ้านแตกตื่นลงไปนอนแช่น้ำร้อนจากบ่อน้ำภายในวัดวังขนาย ตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจาก ประชาชนมีความเชื่อว่าการอาบน้ำร้อนภายในวัดสามารถรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิต ปวดกระดูก ไขข้อเสื่อมหรืออักเสบ ระบบทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง ริดสีดวงทหาร เป็นต้น รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

สถานที่แช่และอาบน้ำร้อน วัดวังขนายทายิการาม จังหวัดกาญจนบุรี

การแบ่งประเภทน้ำพุร้อน และประโยชน์จากการอาบน้ำพุร้อน
ผู้เขียนได้รวบรวมการแบ่งประเภทน้ำพุร้อน และประโยชน์ที่ได้รับจากการอาบและการดื่มน้ำพุร้อนจากเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต http://www.east.co.jp/dip-e/ante/onsen/what.htmlอนึ่ง ประโยชน์ของการอาบน้ำพุร้อนไม่ได้เป็นที่ยืนยันว่าต้องรักษาโรคได้กับทุกคนหรือรักษาโรคตามที่ระบุข้างต้นแล้วต้องหายเป็นปลิดทิ้ง การรักษาโรคยังต้องประกอบด้วยปัจจัยอีกหลายชนิดซึ่งอยู่นอกเหนือเกินกว่าความรู้ของผู้เขียนที่จะกล่าวในที่นี้ได้ ผู้เขียนขอยกข้อความตอนหนึ่งของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรพงษ์ ตันธนศรีกุล เขียนในข่าวสาร  สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขกาญจนบุรี และติดแสดงไว้บริเวณที่อาบน้ำร้อนวัดวังขนาย ว่า "คุณสมบัติของน้ำที่มีอุณหภูมิ 42°ซ มีความสอดคล้องกับการรักษาทางการแพทย์ ที่เรียกว่า ธาราบำบัด โดยอาศัยหลักการที่ว่า การใช้น้ำที่มีอุณหภูมิสูงในระดับที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต มีผลต่อการผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ เป็นผลให้รู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายรู้สึกสบายขึ้น ความตึงเครียดน้อยลง ย่อมมีผลต่อสภาพจิตใจ เป็นการลดความเครียดได้วิธีหนึ่ง สิ่งที่สำคัญ และควรพิจารณาก่อนการอาบน้ำพุร้อนคือ การคำนึงถึงความสะอาด เนื่องจากน้ำพุร้อนหลายแห่งจัดเป็นห้องอาบน้ำรวม หรือแยกเป็นห้องอาบน้ำสำหรับผู้หญิงและห้องอาบน้ำสำหรับผู้ชาย ห้องอาบน้ำพุร้อนมี 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่ ห้องอาบน้ำร้อนแบบปิดจัดเป็นห้องส่วนตัวที่มีอากาศถ่ายเทได้น้อยมาก และห้องอาบน้ำร้อนแบบเปิดไม่มีกำแพงล้อมรอบทำให้อากาศไหลถ่ายเทได้สะดวก ขณะเดียวกัน สภาพของร่างกายก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง กล่าวคือ คนทีมีร่างกายอ่อนเพลียหรือคนที่เพิ่งเสร็จจากการออกกำลังกายมาใหม่ๆ ควรอาบน้ำพุร้อนในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก เนื่องจากมีความต้องการอากาศออกซิเจนมากกว่าคนที่มีสภาพร่างกายปกติ รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

ห้องอาบน้ำแบบปิดเป็นห้องส่วนตัว

รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

ห้องอาบน้ำแบบเปิดเป็นสระว่ายน้ำ

รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

สถานที่แช่และอาบน้ำร้อน วัดวังขนายทายิการาม จังหวัดกาญจนบุรี

ขณะเตรียมตัวก่อนลงอาบน้ำพุร้อน ท่านควรสังเกตป้ายหรือข้อความต่างๆ ที่แสดงบอกไว้บริเวณบ่ออาบน้ำพุร้อน ท่านควรทราบอุณหภูมิของน้ำพุร้อน จากนั้น ท่านจึงชำระร่างกายให้สะอาดในบริเวณที่อาบน้ำภายนอกที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ ก่อนการอาบน้ำพุร้อนท่านควรทดสอบอุณหภูมิของน้ำร้อนโดยการจุ่มมือลงในบ่อน้ำและหย่อนตัวลงในบ่อน้ำร้อนอย่างช้าๆ เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพให้เข้ากับน้ำร้อน แช่และผ่อนคลายความเครียดตามอัธยาศัย การแช่น้ำร้อนนานเกินไปอาจทำให้รู้สึกอึดอัด ระหว่างการอาบน้ำร้อนอาจขึ้นมาพักผ่อนคลายความเครียด หรือชำระร่างกายในห้องอาบน้ำภายนอกด้วยสบู่และแชมพู แล้วกลับลงมาอาบน้ำพุร้อนอีกครั้ง จนท่านรู้สึกว่าร่างกายเบา โป่รง และกระปรี้กระเปร่า จึงขึ้นมาเช็ดตัว และเปลี่ยนเสื้อผ้า ผู้เขียนเชื่อว่า ท่านผู้อ่านหลายท่านมีความรู้เกี่ยวกับน้ำพุร้อนหรือได้เคยอาบน้ำพุร้อนมาก่อน สำหรับท่านที่นิยมการอาบน้ำพุร้อนหรือต้องการหาความรู้เพิ่มเติม ผู้เขียนขอแนะนำบทความในอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ "http:/www.east.co.jp/dip-e/ante/onsen/manner.html  ที่แนะนำเกี่ยวกับการอาบน้ำพุร้อนตลอดจนการดื่มน้ำพุร้อนไว้ ดังนี้ การอาบน้ำพุร้อนเป็นสิ่งที่ดีแต่ไม่ได้หมายความว่าท่านต้องแช่อยู่ในน้ำร้อนเป็นเวลานาน ท่านควรอาบน้ำพุร้อนวันละ 2 3 ครั้งๆละ 30 นาที การอาบน้ำหมายถึงการชำระล้าง ทำความสะอาดร่างกาย 20 นาที และกายภาพบำบัดในน้ำพุร้อนอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส อีก 10 นาที ในกรณีที่ อุณหภูมิของน้ำพุร้อนน้อยกว่า 40 องศาเซลเซียส หรือน้ำพุร้อนเป็นน้ำอุ่นที่มีปริมาณของสารละลายแร่ธาตุต่างๆ น้อย ท่านอาจเพิ่มระยะเวลาในการอาบน้ำให้นานขึ้น น้ำพุร้อนไม่เพียงแต่จะประกอบด้วยสารละลายแร่ธาตุต่างๆ เท่านั้น แต่น้ำพุร้อนยังมีแรงดันซึ่งจะช่วยกระตุ้นสภาพของร่างกาย ท่านควรปล่อยให้น้ำพุร้อนพยุงตัวให้ท่านลอยขึ้นเหนือน้ำ ซึ่งการพยุงตัวลอยเหนือน้ำพุร้อนนี้จะทำให้ร่างกายปลอดโปร่ง และเชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นทำให้สภาวะแวดล้อมภายในมดลูกและช่องท้องดีขึ้น การอาบน้ำร้อนจะทำให้รูขุมขนของร่างกายเปิดกว้างออก เป็นการทำความสะอาดรูขุมขน และช่วยทำให้แร่ธาตุในน้ำพุร้อนไหลถ่ายเทตามรูขนเข้าไปในร่างกาย การอาบน้ำพุร้อนเป็นการทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ลดความเครียด และเป็นการทำให้เกิดความสมดุลในระบบประสาท ภายหลังจากการอาบน้ำพุร้อนเสร็จสิ้นแล้ว ให้ท่านคิดในทางที่ดีเสมอว่าการอาบน้ำพุร้อนเป็นสิ่งที่ดีทำให้ท่านรู้สึกกระชุ่มกระชวย ท่านพร้อมแล้วสำหรับงานที่รออยู่ข้างหน้า เนื่องจาก บ่ออาบน้ำพุร้อนโดยทั่วไปจะเป็นบ่อสาธารณะ มีคนมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ท่านคิดว่าเป็นการดีที่ท่านควรทำความสะอาดร่างกายก่อนออกจากบ่อน้ำพุร้อน แต่ที่จริงแล้ว การที่แร่ธาตุที่อยู่ในน้ำพุร้อนจะซึมผ่านรูขนเข้าไปในร่างกายต้องใช้เวลา 6 7 ชั่วโมง ดังนั้น การที่ท่านชำระร่างกายก็เป็นการชำระเอาแร่ธาตุออกจากร่างกายของท่านด้วย ในทางปฏิบัติ ท่านควรชำระร่างกายด้วยน้ำสะอาดจากบ่อน้ำพุร้อน หรือท่านอาจชำระร่างกายภายหลังจากอาบน้ำพุร้อนไปแล้ว 7 ชั่วโมง น้ำพุร้อนไม่เพียงแต่ดีมีประโยชน์โดยการอุปโภค เท่านั้น การบริโภค หรือการดื่มน้ำพุร้อนก็มีประโยชน์เช่นกัน น้ำที่ประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ จะกระตุ้นการทำงานของระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolism) การดื่มน้ำพุร้อนเป็นจำนวนมากไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ การดื่มน้ำพุร้อนต้องมั่นใจว่าส่วนประกอบของแร่ธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำพุร้อนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มตามประกาศกรมทรัพยากรธรณีหรือตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำพุร้อนตลอดจนก๊อกน้ำและท่อน้ำต้องถูกออกแบบมาอย่างดีเพื่อใช้บรรจุน้ำพุร้อน อย่าดื่มน้ำพุร้อนแบบการดื่มอย่างกระหายหรือกลืนน้ำลงคอที่ละมากๆ แต่ควรดื่มที่ละน้อยและใช้เวลาในการดื่มน้ำ 30 50 นาที น้ำพุร้อนเกลือ น้ำพุร้อนคาร์บอเนต น้ำพุร้อนโซเดียม ไฮโดรเจน คาร์บอเนต น้ำพุร้อนเรเดียมเหมาะสำหรับการดื่มหลังอาหาร ท่านควรดื่มน้ำพุร้อนในระหว่างที่ท้องว่าง และไม่ควรดื่มน้ำพุร้อนก่อนเวลานอนหลับ

ประเภทน้ำพุร้อน และประโยชน์จากการอาบน้ำพุร้อน (ที่มา http://www.east.co.jp/dip-e/ante/onsen/what.html)

ประเภท คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี ประโยชน์
น้ำพุร้อนทั่วไป (Simple Springs) อุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส ประกอบด้วย ธาตุคาร์บอน, เกลือและแร่อื่นๆ น้อยกว่า 1 กรัม รักษาโรคปวดวิถีประสาท และโรคปวดข้อ การอาบน้ำพุร้อนเป็นประจำจะช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพ
น้ำพุร้อนคาร์บอเนต (Carbonate Springs) ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและแร่อื่นๆ น้อยกว่า 1 กรัม/ลิตร ลักษณะทั่วไปคล้ายกับน้ำพุร้อนทั่ไปแต่มีปริมาณของคาร์บอเนตสูงกว่า อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ หรือเป็นพุน้ำเย็น รักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น รักษาโรคประสาทและความผิดปรกติของเพศหญิง
น้ำพุร้อนดินคาร์บอนหนัก (Heavy Carbon Soil Springs) ธาตุคาร์บอน และแร่อื่นๆ มากกว่า 1 กรัม/ลิตร รักษาโรคปวดข้อ โรคปวดวิถีประสาท และโรคผิดปรกติของ ผิวหนังเรื้อรัง การดื่มน้ำนี้ช่วยผ่อนคลายปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและอาการบวมหรืออักเสบของกระเพาะอาหาร
น้ำพุร้อนเกลือ(Salt Springs) ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่าน้ำพุร้อนทั่วไป คือมีแร่ธาตุต่างๆ มากกว่า 1 กรัม/ลิตร ในกรณีที่น้ำประกอบด้วยเกลือระหว่าง 1-5 กรัม/ลิตร เรียกว่า น้ำพุเกลืออ่อน (Weak Saline) เกลือระหว่าง 5-10 กรัม/ลิตร เรียกว่า น้ำพุเกลือ และเกลือมากกว่า 10กรัม/ลิตร เรียกว่า น้ำพุเกลือเข้มข้น (Strong Salt) และมีคุณสมบัติเก็บรักษาอุณหภูมิและความร้อนได้ดี เช่นเดียวกับ น้ำพุร้อนดินคาร์บอเนต
น้ำพุร้อนเกลือ โซเดียม ไฮโดรเจน คาร์บอเนต (Saltine Sodium Hydrogen Carbomate Springs) น้ำพุเกลือ ที่มีส่วนประกอบของ โซเดียม ไฮโดรเจนคาร์บอเนต และ Alkaline Base เช่นเดียวกับ น้ำพุร้อนดินคาร์บอเนต
  Alkine Base = สารละลายด่างเข้มข้น, พลายา และน้ำพุ  Sulfite = เกลือของกรดซัลฟูรัส, Vitrol = เป็นอีกชื่อหนึ่งของกรดซัลฟูริค หรือ สิ่งที่มีเกลือ,Arteriosclesis = ไขมันอุดตันในเส้นเลือดหัวใจ, Cholecystitis = ถุงน้ำดีอักเสบ, Female Disorder = ความผิดปรกติของเพศหญิง, Neuralgia = โรคปวดวิถีประสาท,Neurological = โรคประสาท, วิกลจริต, Rehabilitation = การฟื้นฟูสมรรถภาพ, Rheumatism = โรคปวดข้อ โรคเข้าข้อ
กฎ ข้อบังคับ และระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับน้ำพุร้อน

ไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับควบคุมการใช้ประโยชน์น้ำพุร้อน แต่การนำน้ำพุร้อนขึ้นมาใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภค และบริโภค ให้ใช้กฎระเบียบตามพรบ. น้ำบาดาล และพรบ. น้ำแร่

  • พระราชบัญญัติน้ำบาดาลตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2535
  • พระราชบัญญัติน้ำแร่ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2534
มาตรฐานน้ำบาดาลและน้ำแร่เพื่อการบริโภค
มาตรฐานน้ำบาดาลตามประกาศของกรมทรัพยากรธรณี พ.ศ. 2535 และมาตรฐานน้ำแร่ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2534
พรบ.น้ำบาดาล พ.ศ. 2535 พรบ. น้ำแร่ พ.ศ. 2534
คุณสมบัติทางกายภาพ
รายการ เกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม เกณฑ์อนุโลมสูงสุด เกณฑ์อนุโลมสูงสุด
สี (Colour) 5 (หน่วยปลาตินัม-โคบอลต์) 50 (หน่วยปลาตินัม-โคบอลต์) ใสสะอาด
ความขุ่น (Tuurbidity) 5 (หน่วยความขุ่น) 20 (หน่วยความขุ่น) ไม่มีตะกอน
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) 7.0 - 8.5 6.9 - 9.2
คุณสมบัติทางเคมี หน่วย (มิลลิกรัม/ลิตร) (ยกเว้นเขียนกำหนดเป็นอย่างอื่น)
รายการ เกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม เกณฑ์อนุโลมสูงสุด เกณฑ์อนุโลมสูงสุด
เหล็ก (Fe) ไม่เกิน 0.5 1.0 -
แมงกานีส (Mn) ไม่เกิน 0.3 0.5 2
ทองแดง (Cu) ไม่เกิน 1.0 1.5 1
สังกะสี (Zn) ไม่เกิน 5.0 15.0 5
ซัลเฟต (SO4) ไม่เกิน 200 250
คลอไรด์ (Cl) ไม่เกิน 200 600
ฟลูออไรด์ (F) ไม่เกิน 1.0 1.5
ไนเตรท (NO3) ไม่เกิน 45 45
ความกระด้างทั้งหมด (Total hardness as CACO3) ไม่เกิน 300 500
ความกระด้างถาวร (Non-carbonate hardness as CACO3) ไม่เกิน 200 250
ปริมาณมวลสารทั้งหมด (Total solids) ไม่เกิน 750 1,500
คุณลักษณะที่เป็นพิษ หน่วย (มิลลิกรัม/ลิตร)
รายการ เกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม เกณฑ์อนุโลมสูงสุด เกณฑ์อนุโลมสูงสุด
สารหนู (As) ต้องไม่มีเลย 0.05 0.05
ไซยาไนด์ (CN) ต้องไม่มีเลย 0.2 0.01
ตะกั่ว (Pb) ต้องไม่มีเลย 0.05 0.05
ปรอท (Hg) ต้องไม่มีเลย 0.001 0.001
แคดเมียม (Cd) ต้องไม่มีเลย 0.01 0.01
เซเลเนียม (Se) ต้องไม่มีเลย 0.01 0.01
ลักษณะทางแบคทีเรีย
รายการ เกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม เกณฑ์อนุโลมสูงสุด
Standard plate count ไม่เกิน 500 โคโลนีต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ไม่เกิน 500 โคโลนีต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
Most probable number of coliform organism (MPN) น้อยกว่า 2.2 ต่อน้ำร้อยลูกบาศก์เซนติเมตร น้อยกว่า 2.2 ต่อน้ำร้อยลูกบาศก์เซนติเมตร
Escherichia Coli ต้องไม่มีเลย ต้องไม่มีเลย
หมายเหตุ: มาตรฐานน้ำแร่ กำหนดรายละเอียดเพิ่ม ดังนี้ บอเรตในรูปของกรดบอริค ไม่เกิน 30, สารอินทรีย์ของ ออกซิเจนไม่เกิน 3, Hexavalent Cr ไม่เกิน 0.05, NO3 ในรูปของไนเตรทอิออนไม่เกิน 45, NO3 ในรูปของไนไตรต์ ไม่เกิน 0.005 และ ซัลไฟด์ในรูปของ H2S ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/ลิตร, Ra-226 ไม่เกิน 30, ไม่มี polynuclear aromatic hydrocarbon Beta-activity ยกเว้น K-40 และ H-3 ไม่เกิน 1 พิโค-คูรีต่อลิตร, ไม่มีสาร phenolic, ไม่มียาฆ่าวัชพืชและยาฆ่าแมลง, ไม่มี polychlorinated biphenyl, ไม่มี surface active agent, ไม่มี mineral oil, ไม่มีการเติมสารเคมี ยกเว้น ฟลูออไรด์ เติมไดไม่เกิน 1 มิลลิลิตร/กรัม, คาร์บอนไดออกไซด์และโอโซน เติมในน้ำแร่ได้
กลยุทธ์การสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย

ด้วยลักษณะเฉพาะของแหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย การลงทุนสำรวจพัฒนาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าระดับลึกมากมีต้นทุนสูง ดังนั้น จึงควรเลือกพัฒนาแหล่งที่ระดับตื้นกว่า 500 เมตร อุณหภูมิของน้ำร้อนประมาณ 130°ซ กลยุทธ์ที่ต้องคิดไว้ในการสำรวจแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ระดับตื้น ได้แก่

  • หากสำรวจพบว่าแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพให้พลังงานเพียงพอสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า ก็ให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแบบ 2 ระบบ พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์น้ำร้อนโดยตรง เช่นเดียวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง
  • หากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ตามข้อ 1 ให้พลังงานไม่เพียงพอสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าก็ให้คำนึงถึงการพัฒนาใช้ประโยชน์โดยตรง เช่นสร้างห้องเย็น ห้องปลูกพืชในเขตประเทศหนาว      ห้องอบแห้ง หรืออุตสาหกรรมและเกษตรกรรมอื่นที่สนับสนุนการดำรงชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ตลอดจนการพัฒนาเป็นแหล่งสันทนาการและการท่องเที่ยว

แหล่งน้ำพุร้อนส่วนใหญ่ได้จากการบอกกล่าวของชาวบ้าน และประชาชนทั่วไปที่ได้ไปพบเห็นน้ำพุร้อนนั้นๆ ประเทศไทยยังมีน้ำพุร้อนอีกหลายแหล่งที่ยังไม่ได้สำรวจหรือบันทึกลงในฐานข้อมูล ผู้เขียนขอขอบพระคุณสำหรับท่านที่บอกแหล่งน้ำพุใหม่ที่ไม่อยู่ในรายการ และยินดีน้อมรับหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ กรุณาจดหมายมาที่ manop@dm

 

แหล่งข้อมูล

มานพ รักษาสกุลวงศ์, 2544, น้ำพุร้อน-แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ วารสารเศรษฐธรณีวิทยา, กรมทรัพยากรธรณี, ปีที่3, ฉบับที่ 4, 8 หน้า.

Raksaskulwong, M., 1999, Geothermal energy development and utilization in Thailand; in NEDO (ed.), Proceedings of Asia Geothermal Symposium, New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO), Tokyo, Japan, p.70-86.

งานจริยธรรม

ด้านธรณีวิทยา