กรมทรัพยากรธรณี

การสำรวจธรณีวิทยาทางทะเล

ชั้นนอกสุดของโครงสร้างของเปลือกโลก ที่มีสิ่งมีชีวิตดำรงอาศัยอยู่นั้น ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (continental crust) และเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic crust) ซึ่งแนวรอยต่อของเปลือกโลกนี้ อาจเป็นแนวภูเขา หรือ ภูเขาไฟ ที่ทำให้เกิดทั้งทรัพยากรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดธรณีพิบัติภัย เปลือกโลกภาคพื้นสมุทร ซึ่งครอบคลุมด้วยพื้นทะเลนั้น มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับภาคพื้นดิน ประกอบด้วยทรัพยากร ต่าง ๆ ได้แก่ ทรัพยากรแร่ในทะเล ปิโตเลียม แนวปะการัง หญ้าทะเล และ ทรัพยากรป่าชายเลน ซึ่งมีหน่วยงานต่าง ๆ รับผิดชอบดูแล เพื่อให้เกิดความมั่นคง และ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศ

ประเทศไทยมีอาณาเขตทางทะเล ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 มีพื้นที่มากกว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร มีความยาวชายฝั่งรวมทั้งสิ้น 3,148 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ใน 23 จังหวัด เป็นชายฝั่งอาวไทยระยะทางประมาณ 2,055 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลอันดามันระยะทางประมาณ 1,093 กิโลเมตร

งานจริยธรรม

ด้านเทคโนโลยีธรณี