กรมทรัพยากรธรณี

ทรัพยากรแร่ในทะเลของประเทศไทย

กิจกรรมด้านทรัพยากรแร่ทางทะเล มีจุดเริ่มต้นหลังจากการก่อตั้งกรมทรัพยากรธรณีหรือกรมราชโลหกิจแลภูมิวิทยาสมัยนั้นได้ไม่นาน โดยในปีพ.ศ. 2444 การทำเหมืองดีบุกได้รุกล้ำเข้าไปในชายฝั่งทะเล ถึง 400 เมตร และในปี พ.ศ. 2450 บิดาแห่งการทำเหมืองขุดด้วยเรือขุด กับตัน Edward Thomas Miles ได้นำเรือ Padang ลากเรือขุด Bucket dredge มาจากเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเรือขุดนี้ดำเนินการโดยบริษัท Tongkha Harbour Tin Dredging Berhad พ.ศ. และในปี พ.ศ. 2450 บริษัททุ่งคาร์ฮาร์เบอร์เริ่มดำเนินการขุดแร่ในทะเลบริเวณ อ่าวทุ่งคา เกาะภูเก็ต ต่อเนื่องมามากกว่า 60 ปี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการอนุญาตให้บริษัทเอกชนเข้าดำเนินการสำรวจ โดยระหว่างปี พ.ศ. 2501-2509 บริษัทอ่าวขามหินได้ดัดแปลงเรือบันทึกน้ำมันชื่อ Paula และได้ใช้ชื่อว่า “เรือพิบูล ดำเนินการขุดแร่ดีบุค และในปี 2507 บริษัทซะเทินคินตาคอนโซลิเด็ดเต็ดลิมิตเต็ด ได้ดำเนินการขุดแร่นอกชายฝั่งเช่นกัน นอกจากนี้ ในปี พ.ศ 2507 รัฐบาลยังให้สัมปทานบริษัทเหมืองแร่บูรพาในการ จำกัด ในการสำรวจแร่ดีบุคในทะเล บริเวณ เกาะภูเก็ต พังงา และอื่น ๆ

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2510 กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตสำรวจและผลิตปิโตเลียมขึ้น โดย ในขณะนั้น มีบริษัทแจ้งความจำนงในการสำรวจจำนวน 14 ราย อย่างไรก็ตามภารกิจด้านปิโตเลียมนี้ ได้แยกภารกิจออกจากกรมทรัพยากรธรณี หลังปฏิรูปราชการในปี พ.ศ. 2545 เป็นเป็นกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สังกัดกระทรวงพลังงาน

ต่อมากรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจแร่นอกชายฝั่ง ทั้งด้านทะเลอันดามัน และ อ่าวไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยฝั่งอันดามัน พบ แหล่งแร่บุก แร่หนักมีค่า เพชร ถ่านหิน ฟอสเฟตโนดูลส์ และกรวดทรายก่อสร้าง ส่วนฝั่งอ่าวไทย พบ พลอย (คอรันดัม และ กรวดทรายก่อสร้าง)

นอกจากนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการสำรวจจัดทำแผนที่ธรณีวิทยากายภาพพื้นท้องทะเล บริเวณพื้นที่อ่าวไทย ทางภาคตะวันออก และภาคใต้ในบางส่วน

รูปภาพของกรมทรัพยากรธรณี

งานจริยธรรม

ด้านเทคโนโลยีธรณี