Home > General information on geohazards > Tsunami
Tsunami
สึนามิ (Tsunami) เป็นคำที่ยอมรับกันทั่วโลกแล้วว่า เป็นคลื่นยักษ์ที่มีความยาวคลื่นเป็นหลัก 100 กิโลเมตรขึ้นไป ที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นหากแปลตรงตัวคำว่า TUS หมายถึง ท่าเรือ NAMI หมายถึง คลื่น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นทะเลในแนวดิ่งตรงรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งก่อให้มีแนวของรอยเลื่อนมีพลังอันเป็นแหล่งกำหนิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ คลื่นที่เกิดขึ้นมักมีลักษณะขนาดเล็ก ๆ ไม่สามารถตรวจวัดได้ขณะอยู่ในทะเลเปิด ต่อเมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ชายฝั่งความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตามสภาพภูมิลักษณ์ของชายฝั่งนั้นๆ จนมีผลกระทบร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีผลต่ออ่าวที่เว้าเป็นรูปตัววี (V) และเปิดไปสู่มหาสมุทรโดยตรง
คลื่นสึนามิ มีสาเหตุการเกิดหลายประการ เช่น
คลื่นสึนามิในมหาสมุทรหรือทะเลตรงที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นความพยายามที่จะกลับคืนสู่สมดุลย์ภายหลังจากการยกตัวอย่างฉับพลันของพื้นท้องหมาสมุทรนำมาซึ่งการยกตัวของมวลน้ำทะเลอย่างทันทีทันใด อนุภาคของน้ำจะกระเพื่อมขึ้นและลง เริ่มต้นเป็นศูนย์กลางของการแผ่กระจายคลื่นน้ำออกไปในทุกทิศทาง โดนอนุภาคของน้ำเคลื่อนที่เป็นวงรี และมีลักษณะยาวตามแนวนอน โดยมีความสูงของคลื่นไม่มากนักในทะเลลึกแต่มีค่าความเร็วสูง เมื่อคลื่นเข้าใกล้ฝั่งความเร็วของคลื่นจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างฉับพลัน โดยที่แรงปะทะยังทรงพลังอยู่ จึงทำให้ยอดคลื่นถูกยกขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว และสูงสุดที่ชายฝั่ง ดังนั้นผลกระทบจากคลื่นสึนามิบริเวณแหล่งกำเนิดในทะเลจึงแทบไม่ปรากฏ ส่วนบริเวณชายฝั่งตื้นย่อมก่อให้เกิดความเสียหายได้มากกับชีวิตและทรัพย์สินบริเวณชายฝั่งนั้น
ความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นสึนามิ แสดงด้วยสมการของ Langranges Law ที่ว่า ความเร็วคลื่นเป็นรากที่สองของผลคูณความลึกกับอัตราเร่งของความโน้มถ่วงของโลก เช่น ถ้าในทะเลอันดามัน มีความลึก 4,000 เมตร คำนวณความเร็วของคลื่นสึนามิได้ประมาณ 700 กม./ชม.
ส่วนใหญ่สึนามิเกิดบริเวณเดียวกับย่านที่เกิดแผ่นดินไหวในทะเลหรือชายฝั่ง โดย 80 % ของ สึนามิที่เกิดทั้งหมดมักอยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
สำหรับสึนามิที่เคยเกิดในย่านมหาสมุทรอินเดียพอที่จะรวบรวมได้ดังนี้
หมายเหตุ ลูกระเบิด TNT หนัก 1 ออนซ์ เมื่อระเบิดใต้ดินมีพลังงานประมาณ 640 x 106 Ergs
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อเวลา 07:58:53 น. เวลาท้องถิ่นของวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ตามรายงานของกรมธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (USGS) มีขนาด 9.0 ริกเตอร์ (Moment Magnitude) ที่ระดับความลึกจากพื้นท้องทะเล 28.6 กิโลเมตร มีศูนย์กลางในทะเลนอกชายฝั่งด้านทิศตะวันตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งส่งพลังงานมหาศาลเทียบเท่าระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา 23,000 ลูก ก่อให้เกิดการสั่นไหวที่รุนแรงของแผ่นดิน และเกิดสึนามิตามมาในมหาสมุทรอินเดีย โดยเข้าถล่มชายฝั่งประเทศต่างๆ ที่อยู่โดยรอบ ได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย ไทย โซมาเลีย มัลดีฟส์ พม่า แทนซาเนีย บังคลาเทศ และเคนยา มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 230,000 คน และสูญหายอีกหลายหมื่นคน เฉพาะในเมืองบันดาอาเจะห์ ของประเทศอินโดนีเซียมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 150,000 คน สำหรับประเทศไทยมี 6 จังหวัดในฝั่งทะเลอันดามันที่ได้รับผลกระทบ คือ จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล มีผู้เสียชีวิตทั้งคนไทย และต่างชาติมากกว่า 5,395 คน และสูญหายมากกว่า 2,000 คน บาดเจ็บประมาณ 8,000 คน ส่วนอาคารบ้านเรือน โรงแรมที่พักเสียหายอย่างยับเยิน และพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยได้รับผลกระทบมากกว่า 475,000 ไร่
ลำดับเหตุการณ์ของสึนามิที่มีผลกระทบกับประเทศไทยในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 โดยมียอดคลื่นสูงสุด10 เมตร พัดเข้าสู่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งสามารถลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้
แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจากการเคลื่อนที่ของมวลหินเป็นแนวยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร ขนานกับแนวร่องลึกซุนดา อันเป็นแนวมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกอินเดียเข้าใต้แผ่นเปลือกโลกย่อยพม่า (เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย) ด้วยมุมเอียงจากแนวราบ 10 องศาในอัตราปีละ 6 เซนติเมตร จากรายงานของ USGS พบว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้มวลหินที่เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100 x 400 ตารางกิโลเมตร และมีการยกตัวในแนวดิ่งเฉลี่ย 10 เมตร ส่งผลให้มวลน้ำทะเลถูกยกขึ้นเป็นบริเวณกว้าง และกระจายออกเป็นคลื่นสึนามิ
ต่อมานักธรณีวิทยาของมหาวิทยาลัย Northwestern สหรัฐอเมริกา ได้วิเคราะห์ขนาดแผ่นดินไหวของเหตุการณ์ครั้งนี้ใหม่พบว่ามีขนาด 9.3 ริกเตอร์ (Moment Magnitude) เนื่องจากพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาทำลายพื้นที่มากมายขนาดนี้ เกิดมาจากการเคลื่อนที่ของมวลหินครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 400 x1,200 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตรวจสอบได้จากตำแหน่งของแผ่นดินไหวระลอกหลังที่เกิดขึ้นตามมาตั้งแต่หัวเกาะสุมาตรา ผ่านหมู่เกาะนิโคบาร์ จนถึงหมู่เกาะอันดามัน (รูปที่ 2) และจากข้อมูลพื้นที่เสียหายอย่างรุนแรงในประเทศศรีลังกา และอินเดียบ่งชี้ว่าเป็นบริเวณที่เปิดรับคลื่นสึนามิเข้ามาโดยตรง ซึ่งมักเป็นแนวตั้งฉากกับแนวการเคลื่อนตัวของมวลหิน หรือด้านยาวของรอยเลื่อนในบริเวณหมู่เกาะอันดามัน
สำนักข่าว BBC ของประเทศอังกฤษ รายงานข่าวผลการสำรวจเบื้องต้นของพื้นท้องทะเลนอกชายฝั่งทิศตะวันตกของเกาะสุมาตราด้วยคลื่นโซนาร์ ของสถาบัน SouthThumtum Oceanic Center ด้วยความร่วมมือของกองทัพเรือ ประเทศอังกฤษ พบว่าบริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหวของเหตุการณ์วันที่ 26 ธันวาคม 2547 นั้นเกิดมีดินถล่มของภูเขาใต้ทะเลหลายตำแหน่ง บางตำแหน่งดินถล่มมีขนาดความยาว 2 กิโลเมตร และความสูง 100 เมตร (รูปที่ 3) ซึ่งสรุปได้ว่าเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิครั้งรุนแรงนี้ นอกจากเกิดมาจากแผ่นดินไหวขนาด 9.3 ริกเตอร์แล้วยังมีสาเหตุของดินถล่มใต้ทะเลเกิดร่วมด้วย
1. ขณะที่อยู่บริเวณชายฝั่งเมื่อรู้สึกว่ามีแผ่นดินไหวหรือพบว่าระดับน้ำทะเลลดลงมากผิดปกติ ให้รีบอพยพไปยังบริเวณที่สูงทันที
2. เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวในทะเล ให้เตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดสึนามิตามมาได้
3. ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือ ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบข่าวว่าจะเกิดสึนามิพัดเข้าหา
4. คลื่นสึนามิ อาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอประกาศจากการก่อนจึงสามารถลงไปชายหาดได้
5. ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อ
6. หากที่บ้านเรือนอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล ในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องสึนามิ
7. ควรหลีกเลี่ยงการก่อสร้างอาคารบ้านเรือใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง
8. วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากสึนามิเป็นประจำทุกปี เช่นกำหนดเส้นทางหนีภัยสึนามิ สถานที่ในการอพยพ และแหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น
9. จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง
10. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากสึนามิและแผ่นดินไหว
11. วางแผนล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณะสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
กรมทรัพยากรธรณี
We firmly believe that the internet should be available and accessible to anyone, and are committed to providing a website that is accessible to the widest possible audience, regardless of circumstance and ability.
To fulfill this, we aim to adhere as strictly as possible to the World Wide Web Consortium’s (W3C) Web Content Accessibility Guidelines 2.1 (WCAG 2.1) at the AA level. These guidelines explain how to make web content accessible to people with a wide array of disabilities. Complying with those guidelines helps us ensure that the website is accessible to all people: blind people, people with motor impairments, visual impairment, cognitive disabilities, and more.
This website utilizes various technologies that are meant to make it as accessible as possible at all times. We utilize an accessibility interface that allows persons with specific disabilities to adjust the website’s UI (user interface) and design it to their personal needs.
Additionally, the website utilizes an AI-based application that runs in the background and optimizes its accessibility level constantly. This application remediates the website’s HTML, adapts Its functionality and behavior for screen-readers used by the blind users, and for keyboard functions used by individuals with motor impairments.
If you’ve found a malfunction or have ideas for improvement, we’ll be happy to hear from you. You can reach out to the website’s operators by using the following email
Our website implements the ARIA attributes (Accessible Rich Internet Applications) technique, alongside various different behavioral changes, to ensure blind users visiting with screen-readers are able to read, comprehend, and enjoy the website’s functions. As soon as a user with a screen-reader enters your site, they immediately receive a prompt to enter the Screen-Reader Profile so they can browse and operate your site effectively. Here’s how our website covers some of the most important screen-reader requirements, alongside console screenshots of code examples:
Screen-reader optimization: we run a background process that learns the website’s components from top to bottom, to ensure ongoing compliance even when updating the website. In this process, we provide screen-readers with meaningful data using the ARIA set of attributes. For example, we provide accurate form labels; descriptions for actionable icons (social media icons, search icons, cart icons, etc.); validation guidance for form inputs; element roles such as buttons, menus, modal dialogues (popups), and others. Additionally, the background process scans all of the website’s images and provides an accurate and meaningful image-object-recognition-based description as an ALT (alternate text) tag for images that are not described. It will also extract texts that are embedded within the image, using an OCR (optical character recognition) technology. To turn on screen-reader adjustments at any time, users need only to press the Alt+1 keyboard combination. Screen-reader users also get automatic announcements to turn the Screen-reader mode on as soon as they enter the website.
These adjustments are compatible with all popular screen readers, including JAWS and NVDA.
Keyboard navigation optimization: The background process also adjusts the website’s HTML, and adds various behaviors using JavaScript code to make the website operable by the keyboard. This includes the ability to navigate the website using the Tab and Shift+Tab keys, operate dropdowns with the arrow keys, close them with Esc, trigger buttons and links using the Enter key, navigate between radio and checkbox elements using the arrow keys, and fill them in with the Spacebar or Enter key.Additionally, keyboard users will find quick-navigation and content-skip menus, available at any time by clicking Alt+1, or as the first elements of the site while navigating with the keyboard. The background process also handles triggered popups by moving the keyboard focus towards them as soon as they appear, and not allow the focus drift outside of it.
Users can also use shortcuts such as “M” (menus), “H” (headings), “F” (forms), “B” (buttons), and “G” (graphics) to jump to specific elements.
We aim to support the widest array of browsers and assistive technologies as possible, so our users can choose the best fitting tools for them, with as few limitations as possible. Therefore, we have worked very hard to be able to support all major systems that comprise over 95% of the user market share including Google Chrome, Mozilla Firefox, Apple Safari, Opera and Microsoft Edge, JAWS and NVDA (screen readers), both for Windows and for MAC users.
Despite our very best efforts to allow anybody to adjust the website to their needs, there may still be pages or sections that are not fully accessible, are in the process of becoming accessible, or are lacking an adequate technological solution to make them accessible. Still, we are continually improving our accessibility, adding, updating and improving its options and features, and developing and adopting new technologies. All this is meant to reach the optimal level of accessibility, following technological advancements. For any assistance, please reach out to